1) วิสัยทัศน์การพัฒนาเทศบาล
เทศบาลตำบลบ่อกรุ จะเป็นเมืองที่มีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ กระจายสู่ทุกภาคส่วนในสังคม
ด้วยความเสมอภาค โดยมีพื้นฐานจากความต้องการของประชาชน ด้วยเทคโนโลยี สาธารณูปโภค
และสาธารณูปการอย่างครบถ้วน
2) พันธกิจในการพัฒนา
1. ยกระดับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ให้เป็นระบบอย่างต่อเนื่อง
2. การพัฒนาคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรและการแปรรูปรวมทั้งผลิตภัณฑ์
(เพื่อการบริโภค ภายในประเทศและเพื่อการส่งออก)
3. การสร้างและพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวเข้าสู่ระบบเพื่อเชื่อมต่อกลุ่มจังหวัดและ สู่ความเป็นสากล
4. การยกระดับคุณภาพชีวิต และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
4. การขยายช่วงโอกาสและคุณภาพในการศึกษาทุกระดับให้ตรงกับความต้องการ
5. ส่งเสริมด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่
6. การนำการเปลี่ยนแปลงด้านการบริหาร และบริการเพื่อประโยชน์ของประชาชน
3) เป้าประสงค์ (GOALSX
1. ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีและการให้บริการที่ดี
2. เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ สินค้าชุมชน เพื่อการบริโภค และส่งออก
3. ยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีและแก้ปัญหาความยากจน
4. เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวและการจำหน่ายสินค้า
5. อนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแหล่งท่องเที่ยว ภูมิปัญญาท้องถิ่น และประเพณีวัฒนธรรม
6. ยกระดับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพยสินของประชาชน
4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลตำบลบ่อกรุ
เทศบาลตำบลบ่อกรุ ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สนับสนุนและเชื่อมโยงกัน 10 ด้าน ดังต่อไปนี้
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโครงสร้างพื้นฐาน
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาอาชีพ และเพิ่มศักยภาพสินค้าชุมชน
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา ศิลปะ และวัฒนธรรม
5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยว การจัดการสิ่งแวดล้อมและเมืองน่าอยู่
6. ยุทธศาสตร์การสร้างความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน
7. ยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากร การบริหาร และประสิทธิภาพการบริการ
8. ยุทธศาสตร์ด้านการสาธารณสุขและสร้างเสริมสุขอนามัยชุมชน
9. ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมภาคประชาชนและสร้างความเข้มแข็งชุมชน
10. ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคม และจัดระเบียบบ้านเมือง
แนวทางการพัฒนาเทศบาลในช่วงสามปี
การพัฒนาท้องถิ่นในแต่ละด้าน
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโครงสร้างพื้นฐาน
ประกอบด้วย 2 แนวทาง คือ
1. การพัฒนาระบบคมนาคม
2. การพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และการพัฒนาแหล่งน้ำ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาอาชีพ และเพิ่มศักยภาพสินค้าชุมชน
ประกอบด้วย 2 แนวทางคือ
1. การเพิ่มทักษะและพัฒนาวิชาชีพ
2. การพัฒนาสินค้าชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
ประกอบด้วย 2 แนวทางคือ
1. การสร้างคุณค่าของชีวิต
2. การสงเคราะห์และสนับสนุนกิจกรรมเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา ศิลปะ และวัฒนธรรม
ประกอบด้วย 2 แนวทางคือ
1. การพัฒนาการศึกษา
2. แนวทางการเพิ่มศักยภาพเด็กและเยาวชน
3. การอนุรักษ์ ศิลปะ วัฒนธรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยว การจัดการสิ่งแวดล้อมและเมืองน่าอยู่
ประกอบด้วย 2 แนวทางคือ
1. การพัฒนาการท่องเที่ยว
2. การจัดการสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 6 ยุทธศาสตร์การสร้างความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน
ประกอบด้วย 3 แนวทางคือ
1. การสร้างเครือข่ายรักษาความปลอดภัย
2. การป้องกันและเตือนภัยสาธารณะ
3. การช่วยเหลือและสงเคราะห์ผู้ประสบภัย
ยุทธศาสตร์ที่ 7 ยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากร การบริหาร และประสิทธิภาพการบริการ
ประกอบด้วย 3 แนวทางคือ
1. การเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรถนะ
2. การพัฒนาบุคลากรและการบริการ
3. การพัฒนารายได้เทศบาล
ยุทธศาสตร์ที่ 8 ยุทธศาสตร์ด้านการสาธารณสุขและสร้างเสริมสุขอนามัยชุมชน
ประกอบด้วย 3 แนวทางคือ
1. การควบคุมป้องกันโรค
2. การสร้างเสริมสุขภาพ
3. การพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุข
ยุทธศาสตร์ที่ 9 ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมภาคประชาชนและสร้างความเข้มแข็งชุมชน
ประกอบด้วย 2 แนวทางคือ
1. การสร้างสังคมคุณภาพ
2. การพัฒนาองค์กรประชาชน
ยุทธศาสตร์ที่ 10 ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคม และจัดระเบียบบ้านเมือง
ประกอบด้วย 3 แนวทางคือ
1. การแก้ปัญหายาเสพติด
2. การสร้างความสงบสุขในชุมชน
3. การวางระเบียบสังคม
วิสัยทัศน์ จังหวัดสุพรรณบุรี
“สุพรรณบุรี เป็นจังหวัดชั้นนำในด้านแหล่งผลิตอาหาร และผลิตภัณฑ์คุณภาพมาตรฐานสู่สากล เป็นศูนย์กลางการศึกษา การกีฬาและการท่องเที่ยว โดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ชุมชนเข้มแข็งคุณภาพชีวิตดี ยึดการมีส่วนร่วม”