ReadyPlanet.com
dot dot
bulletข้อมูลทั่วไป
bulletอำนาจหน้าที่
bulletโครงสร้างองค์กร
bulletวิสัยทัศน์
bulletยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาล ฯ
bulletประกาศ
bulletประชาสัมพันธ์
bulletประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
bulletรายงานแสดงรายรับ-รายจ่าย
bulletงานจัดเก็บรายได้
bulletแถลงนโยบายต่อสภาเทศบาลตำบลบ่อกรุ 2564
bulletคู่มือประชาชน
bulletดาวน์โหลดเอกสาร / คำร้องต่างๆ
bulletกิจการสภา
bulletจริยธรรม ผู้บริหาร ข้าราชการ และพนักงานเทศบาล
bulletมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
bulletแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
bulletแผนป้องกันการทุจริต พ.ศ.2566-2570
bulletแผนพัฒนาท้องถิ่น
bulletแผนการดำเนินงาน
bulletแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
bulletแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
bulletรายงานการติดตามและประเมินผลแผนฯ
bulletรายงานผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ
bulletแบบประเมินความพึ่งพอใจ
bulletรายงานข้อมูลเชิงสถิติ
bulletการบริหารงานบุคคล
bulletวินัยข้าราชการ
bulletคู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน
bulletการจัดการองค์ความรู้ (KM)
bulletITA เทศบาลตำบลบ่อกรุ
bulletระเบียบที่เกี่ยวข้อง
bulletหนังสือสั่งการ ส.ถ.
bulletเว็บไซต์หน่วยงานราชการ
bulletโลโก้เทศบาลตำบลบ่อกรุ
bulletผังขั้นตอนการร้องเรียน/ร้องทุกข์
bulletโครงการตำบลคนดีศรีสุพรรณ
bulletหลวงปู่ดำ อดีตเจ้าอาวาสวัดบ่อกรุ
bulletคนไทยเชื้อสายลาวคั่ง
bulletประเพณียกธงสงกรานต์ตำบลบ่อกรุ
bulletรณรงค์ประหยัดพลังงาน
bulletเว็บไซต์การยกระดับเจตจำนงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริต
bulletข้อมูลลานกีฬา/สนามกีฬา
bulletประกาศจัดตั้งชุมชน


กระทรวงมหาดไทย


ข้อมูลทั่วไป

"ข้อมูลทั่วไปของเทศบาลตำบลบ่อกรุ"


 เทศบาลตำบลบ่อกรุ   เดิมเป็นสุขาภิบาล  และได้จัดตั้งขึ้นเป็นเทศบาล   

เมื่อวันที่ 25  พฤษภาคม 2542  ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 1 ตำบลบ่อกรุ อำเภอเดิมบางนางบวช 

บนถนนทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3350  สายท่าข้าง-ด่านช้าง  ห่างจากอำเภอเดิมบางฯ

ประมาณ 25 กิโลเมตร ไปทางทิศตะวันตก ห่างจากอำเภอด่านช้างประมาณ 27 กิโลเมตร

ประวัติความเป็นมาของเทศบาลตำบลบ่อกรุ
              ข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลตำบลบ่อกรุ      ประวัติความเป็นมา  

ชุมชนบ้านบ่อกรุ  หมู่ ที่  1 ตำบลบ่อกรุ  ดั้งเดิมเป็นชุมชนของชาวลาวที่อพยพมาจากจังหวัดนครปฐม  นำโดยนายกอง  บูฮา   

โดยเริ่มตั้งชุมชนครั้งแรกอยู่บริเวณห้วยกุดเข่  หรือปัจจุบันนี้เรียกว่าห้วยกุด  จากนั้นได้ย้ายมาตั้งบ้านเรือนอยู่  ณ  บริเวณปัจจุบัน  ภาษาพูด 

ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาวบ่อกรุ  เรียกว่าภาษาลาวคั่ง 
ซึ่งเป็นภาษาพูดตามแบบของชาวเวียงจันทร์  เมื่อชุมชนขยายใหญ่ขึ้น  ราษฎรได้เลือกกำนันเป็นผู้นำชุมชน  กำนันที่มีบทบาทสำคัญ 
ได้แก่  กำนันทอง  ได้ใช้นามสกุล  “กาฬภักดี”  ซึ่งราษฎรก็มีการขอใช้นามสกุล  กาฬภักดี  ตามส่วนใหญ่ชาวตำบลบ่อกรุ 
จะใช้นามสกุล  “กาฬภักดี”  เกือบ  90 %  ของประชากรทั้งหมด      พ.ศ.  2535  กระทรวงมหาดไทย  ได้ประกาศตั้งเป็น  “สุขาภิบาลบ่อกรุ”  
ประกาศ  ณ  วันที่ 7  ธันวาคม  2535  โดยพลเอก ชวลิต  ยงใจยุทธ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย   ต่อมาวันที่  25  พฤษภาคม 2542 
ได้ยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลบ่อกรุ   : อ้างอิง จุลสารเทศบาลตำบลบ่อกรุ  ปี 2545
โทร.035-575100  FAX.035-575100

ภูมิอากาศร้อนชื้น มีฝนตกปริมาณปานกลาง อยู่ในเขตชลประทานอ่างเก็บน้ำกระเสียว  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ดินร่วนปนทราย

เหมาะแก่การทำการเกษตร มีอุณหภูมิเฉลี่ย ประมาณ 28  องศาเซลเซียส 

อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ   ติดต่อกับตำบลบ่อกรุ     
ทิศตะวันออก  ติดต่อกับตำบลบ่อกรุ
ทิศใต้   ติดต่อกับตำบลหนองโพธิ์ อำเภอหนองหญ้าไซ
ทิศตะวันตก  ติดต่อกับตำบลบ่อกรุ

เนื้อที่
เทศบาลตำบลบ่อกรุ  มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ    12.768 ตารางกิโลเมตร  

จำนวนหมู่บ้าน   3  หมู่บ้าน  คือ
1. หมู่ที่  1    ตำบลบ่อกรุ (ยกหมู่บ้าน)
2. หมู่ที่ 7    ตำบลบ่อกรุ (ยกหมู่บ้าน)
3. หมู่ที่ 6    ตำบลบ่อกรุ (จำนวน 18 หลังคาเรือน)

ประชากร
จากข้อมูลและสถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร  จนถึงสิ้นเดือนเมษายน 2550 มีจำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น  2,091  คน

สภาพทางเศรษฐกิจ
อาชีพ

ประชากรส่วนใหญ่  คือร้อยละ 95   ของผู้มีงานทำประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ,  รองลงมาเป็นอาชีพ ค้าขาย และรับจ้าง 
นอกจากนั้นมีกลุ่มเกษตรกรที่รวมตัวกันทำโรงงานขนมจีนเป็นผลิตภัณฑ์ otop  ทอผ้าพื้นบ้าน
(ผ้าขาวม้า 5 สี)  กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกล้วย และทำดอกไม้ประดิษฐ์ เป็นต้น

การคมนาคม
การคมนาคมโดยทางรถยนต์ มี ถนนทางหลวงแผ่นดิน  หมายเลข 3350 (สานท่าช้าง-ด่านช้าง)
ผ่านกลางเมือง และสามารถโดยสารโดยรถประจำทางสายเดิมบาง-ด่านช้าง

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นในINFOปีงบประมาณ 2565.pdf

ภูมิปัญญาท้องถิ่น2565.pdf

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.