ReadyPlanet.com
dot dot
bulletประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
bulletแผนป้องกันและปราบการทุจริต พ.ศ.2566-2570
bulletคนไทยเชื้อสายลาวคั่ง
bulletประชาสัมพันธ์
bulletข้อมูลทั่วไป
bulletอำนาจหน้าที่
bulletหลวงปู่ดำ อดีตเจ้าอาวาสวัดบ่อกรุ
bulletยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาล ฯ
bulletโครงการตำบลคนดีศรีสุพรรณ
bulletโครงสร้างองค์กร
bulletหนังสือสั่งการ ส.ถ.
bulletแสดงรายรับรายจ่าย ของเทศบาลตำบลบ่อกรุ
bulletประเพณียกธงสงกรานต์ตำบลบ่อกรุ
bulletประกาศ
bulletการบริหารงานบุคคล
bulletเว็บไซต์หน่วยงานราชการ
bulletการจัดการองค์ความรู้ (KM)
bulletดาวน์โหลดเอกสาร / คำร้องต่างๆ
bulletวิสัยทัศน์
bulletมุมอาเซียน
bulletคู่มือประชาชน
bulletโลโก้เทศบาลตำบลบ่อกรุ
bulletรายงานการติดตามและประเมินผลแผนฯ
bulletแผนพัฒนาท้องถิ่น
bulletผังขั้นตอนการร้องเรียน/ร้องทุกข์
bulletรณรงค์ประหยัดพลังงาน
bulletแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
bulletระเบียบที่เกี่ยวข้อง
bulletแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
bulletจริยธรรม ผู้บริหาร ข้าราชการ และพนักงานเทศบาล
bulletเว็บไซต์การยกระดับเจตจำนงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริต
bulletแถลงนโยบายต่อสภาเทศบาลตำบลบ่อกรุ 2564
bulletวินัยข้าราชการ
bulletITA เทศบาลตำบลบ่อกรุ
bulletแผนการดำเนินงาน
bulletข้อมูลเชิงสถิติ
bulletE-Service
bulletมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
bulletรายงานผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ
bulletแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทต.บ่อกรุ
bulletรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฎิบัติการป้องกันการทุจริต
bullet-ว่าง-
bulletคู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน
bulletงานจัดเก็บรายได้
bulletกิจการสภา
bulletข้อมูลลานกีฬา/สนามกีฬา
bulletแบบประเมินความพึ่งพอใจ
bulletภูมิปัญญาท้องถิ่น
bulletประกาศจัดตั้งชุมชน


กระทรวงมหาดไทย


ศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม article

"ประวัติความเป็นมา และความเชื่อ ศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม"


 

ประวัติความเป็นมาของศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม
                   ศาลจะปลูกเป็นหลังเล็ก ๆ  เรียงกันตามลำดับใต้ต้นไม้ใหญ่  บริเวณทั่วไปจะปกคลุมไปด้วยไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีอายุยืนยาวนับร้อยปี 
เป็นจำนวนมากและมีต้นไม้ขนาดเล็กปะปนบ้าง  ในการเลือกทำเลตั้งศาลนั้น คาดว่าชาวบ้านบ่อกรุ  ได้เลือกตามความเหมาะสมสอดคล้อง
ตามความเชื่อที่มีมาแต่สมัยก่อน และได้มีการอนุรักษ์ดูแลรักษา สอดส่องดูแลช่วยกันทั้งหมู่บ้านจึงทำให้สภาพที่ตั้งศาลมีสภาพที่ดีอยู่จนถึงปัจจุบัน  ซึ่งโดยทั่วไปชาวบ้านมีความเชื่อว่าวิญญาณของบรรพบุรุษที่สิงสถิตอยู่ในบริเวณป่าดงไม้งามแห่งนี้ มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่คุ้มครองชาวบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุขภายในศาลที่ปลูกเป็นเรือนหลังเล็ก ๆ  ประกอบไปด้วย   เครื่อง เซ่นบูชา  เช่น  พวงมาลัย  ตุ๊กตารูปเสือ ม้า  และดอกไม้ธูปเทียน  ชาวบ้านถือว่าวิญญาณของบรรพบุรุษจะช่วยคุ้มครองไปถึง  ไร่  นา  วัว  ควาย  และทรัพย์สินของคนในหมู่บ้าน  คอยควบคุม  ความประพฤติให้ชาวบ้านอยู่ในทำนองคลองธรรม  ไม่ทำผิดประเพณีกระทบต่อความสุขของส่วนรวม  และการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ  ไม่ว่าจะทำสิ่งใดก็ตามในหมู่บ้านชาวบ้านมักจะบอกกล่าวต่อวิญญาณของบรรพบุรุษที่บริเวณศาลเจ้าพ่อดงไม้งามก่อนทุกครั้ง  การที่ชาวบ้านไม่กล้าเข้าไปทำสิ่งไม่ดีภายในบริเวณศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม  เช่น  ไม่เข้าไปตัดต้นไม้  และล่าสัตว์  จึงสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อของชาวบ้านที่มีต่อศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม  แห่งนี้  รวมถึงความร่วมมือความสามัคคีของชาวบ้านในการรักษาบริเวณป่าไม้แห่งนี้ไว้ได้อย่างสมบูรณ์เช่นเดิมและ   ชาวบ่อกรุส่วนใหญ่ถือว่าการดูแลรักษาป่าไม้บริเวณศาลเจ้าพ่อดงไม้งามเป็นหน้าที่ของทุกคน

                     นายทำ  กาฬภักดี ( กวนจ้ำ )บางคนเล่าให้ฟังว่าเคยสอบถามจากปู่  ย่า คนแก่สมัยก่อนว่า ชาวลาวซี – ลาวครั่ง ได้อพยพมาจาก
บ้านลำเหย อ.กำแพงแสนตอนที่อพยพมาได้อัญเชิญผ้าเหลือชิ้นเล็กๆของศาลที่นับถืออยู่ที่กำแพงแสนมาหนึ่งชิ้น และได้อัญเชิญมาโดยการใส่หีบมาอย่างดี และ มาตั้งไว้ที่ศาลเจ้าพ่อดงไม้งามในปัจจุบันเพื่อ สักการบูชา และปกปักรักษาตนเองและครอบครัว

                   สำหรับบุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงที่จะต้องคอยปฏิบัติในการประกอบพิธีกรรมคือ กวนจ้ำ   สำหรับกวนจ้ำนั้น  จะเป็นบุคคล
ที่ชาวบ้านเลือก  โดยเลือกเอาบุคคลผู้ที่มีความรู้ทั้งด้านเกี่ยวกับพิธีกรรม   มีคุณงามความดี เป็นบุคคลที่ชาวบ้านยอมรับว่ามีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ได้ เป็นที่เคารพนับถือของคนในหมู่บ้านบ่อกรุ นอกจากนี้ยังเป็นผู้สืบทอดมาจากบรรพบุรุษที่ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นปู่อีกทอดหนึ่งด้วย (นายทำ กาฬภักดี 2548 : สัมภาษณ์ ) ความเชื่อดังกล่าวผู้วิจัยได้แยกศึกษาออกเป็น 3 ประเด็น ดังนี้


  1.ความเชื่อเกี่ยวกับการบนบาน
  2.ความเชื่อเกี่ยวกับการแก้บน
  3.ความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมการขึ้นศาลเจ้าพ่อดงไม้งามประจำปี

ความเชื่อเกี่ยวกับการบนบาน
                นายทำ  กาฬภักดี  กวนจ้ำ  ปัจจุบันอยู่บ้านหนองป่าแซง  บ้านเลขที่  27  ม.6 ต.บ่อกรุ          อ.เดิมบางนางบวช  จ.สุพรรณบุรี 
เล่าให้ฟังว่า  ชาวบ้านบ่อกรุ   มีความเชื่อกับการบนบานมากเมื่อมีเรื่องเดือดร้อนต้องการความช่วยเหลือ  ชาวบ้านจะไปบนบานให้วิญญาณของบรรพบุรุษที่ศาลเจ้าพ่อดงไม้งามช่วยเหลือ  ลักษณะดังกล่าวนี้จะเหมือนกันกับชาวบ้านในถิ่นอื่น ๆ   คือในกรณีที่สภาวะการณ์ที่ต้องเสี่ยงหรือต้องการความช่วยเหลือ  ต้องการกำลังใจก็จะมีการบนบานไว้ถ้าเป็นไปตามที่ขอที่บนบานก็จะมาเลี้ยงเซ่นไหว้   โดยส่วนมากจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับของหายและเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพเจ็บป่วยหรือการเดินทางในที่ต่าง ๆ ที่ห่างไกลเช่น  วัว ควาย  รถยนต์  สิ่งของต่าง ๆ ที่ถูกขโมย  หรือสูญหายชาวบ้านก็จะบนบานขอให้ได้ของคืนมา  แม้แต่การเดินทางไปในที่ต่าง ๆ ชาวบ้านก็จะยกมือบอกกล่าวขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ หรือเกี่ยวกับโรคภัย ต่าง ๆ การสอบเข้าเรียนต่อ การสอบเข้าทำงานได้ และการบนบานเกี่ยวกับการเกณฑ์ทหารเพื่อไม่ให้เป็นทหาร เป็นต้น ถ้าได้ตามความประสงค์แล้วก็จะนำสิ่งของที่ได้บนบานไว้มาแก้บน   ( นายทำ   กาฬภักดี   2548 : สัมภาษณ์ )
               ในการบนบานผู้บนจะนำดอกไม้  ธูปเทียน  โดยนำไปตรงหน้าศาลหรือบอกกล่าวด้วยวาจาซึ่งไม่จำเป็นต้องให้กวนจ้ำเป็นผู้นำก็ได้
เช่นกัน  และถ้าเป็นไปตามต้องการจะถวายสิ่งของอะไรบ้าง เช่น เหล้า  2  ขวด  ไก่ต้ม  2  ตัว พวงมาลัย  เป็นต้น เหตุที่ชาวบ้านนิยมมาบนบานเพราะสะดวก  ง่าย  ทำได้ทุกโอกาส  ทุกเวลา  เมื่อได้สมกับที่บนบานไว้ก็จะมาแก้บนทันที  จากการสังเกตพบว่า  ผู้ที่มาบนบานแต่ละคนจะมาบนบานเนื่องจากว่าความทุกข์  ต้องการที่พึ่งทางใจแม้ว่าการบนบานจะไม่เห็นผลในทันที  แต่ก็ได้รับความสบายใจ  และมีความสุขความเชื่อในศาลเจ้าพ่อดงไม้งามแห่งนี้

ความเชื่อเกี่ยวกับการแก้บน
              การแก้บน  เป็นพิธีกรรมความเชื่อของชาวบ้านว่า  เมื่อได้ทำการบนบานในเรื่องใดแล้ว  หากกิจดังกล่าวสำเร็จตามความต้องการจะต้องไปแก้บนตามที่บนบานไว้  โดยการนำเครื่องเซ่นไหว้ตามที่ได้บอกกล่าวไว้ตั้งแต่ต้นมาถวายแก้บน  ต่อศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม  ซึ่งในส่วนนี้จำเป็นต้องมีกวนจ้ำเป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรม  ซึ่งจากการศึกษาพิธีกรรมการแก้บนของชาวบ้านบ่อกรุ  นั้นพบว่า  เมื่อชาวบ้านมีความทุกข์ใจและได้มาบนบานต่อวินญาณบรรพบุรุษที่ศาลเจ้าพ่อดงไม้งามความเชื่อเกี่ยวกับการแก้บนนี้   ชาวบ้านเชื่อว่า  หากใครไปบนบานไว้แล้ว  แม้ว่าผลของการ บนบานบางครั้งอาจจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ความเชื่อเกี่ยวกับอำนาจศักดิ์สิทธิ์ของศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม  ยังคงถูกฝังลึกอยู่ภายในจิตสำนึกของชาวบ้านบ่อกรุ  อยู่เสมอ  จึงทำให้ชาวบ้านต่างเชื่อกันว่าหากไม่ไปแก้บนจะทำให้ครอบครัวหรือบุคคลนั้นได้รับความเดือดร้อนและมีอันเป็นไป หรือไม่ก็จะเจ็บไข้ได้ป่วยอย่างอื่น เมื่อไปหาหมอดูหรือคนทรงเจ้าก็จะบอกว่าผู้นั้นยังไม่ได้แก้บน ต้องทำการแก้บนเสียก่อนจึงจะทำให้ผู้นั้นหายป่วย
             การแก้บนเพื่อแสดงความขอบคุณหลังการบนบาน ผู้แก้บนจะต้องนำเครื่องเซ่นไหว้ตามที่ได้สัญญาไว้มาถวาย หลังจากที่วิญญาณบรรพบุรุษได้ให้ความคุ้มครองรักษาให้ได้รับความสำเร็จแล้ว  พิธีแก้บนกระทำโดยการจัดเครื่องเซ่นไหว้ตามที่ได้ตกลงบนบานไว้  เช่นบอกกล่าวว่าจะแก้บนด้วย เหล้า  1  ขวด  ไก่ต้น  1  ตัว หรือหัวหมู  เป็นต้น  และจะต้องเตรียมสิ่งของที่ใช้ประกอบกับการแก้บนอีกคือ  ถาดใส่เสื้อผ้าขาวม้า   ยกเว้นกางเกงห้ามนำมาโดยเด็ดขาด  วางใส่ถาดจำนวน  4  ถาด  พร้อมด้วยข้าวสุก  หมาก พลู  เปลือกไม้จัดเป็นคู่  ๆ  วางใส่ถาดเสื้อผ้านั้น  และนำสิ่งของเหล่านี้ไปวางต่อหน้าศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม และกวนจ้ำผู้ประกอบพิธี จะเริ่มทำพิธีกรรม 
จุดธูปเทียน ดอกไม้  บูชา ต่อวิญญาณของบรรพบุรุษ  ทีสิ่งสถิตอยู่บริเวณนั้น  กวนจ้ำก็จะบอกกล่าวเป็นคำพูด  คำพูดนั้น ก็จะเป็นภาษาพื้นเมือง   คำพูดบอกกล่าวนี้จะพูดผิดหรือตกหล่นคำใดคำหนึ่งไม่ได้โดยเด็ดขาด  และบอกวัตถุประสงค์ของการแก้บนว่าเนื่องจากเรื่องใด

  ระยะเวลาในการแก้บน
           สำหรับระยะเวลาในการแก้บนนั้นมีข้อห้ามข้อควรปฏิบัติคือ  เวลาแก้บนต้องเป็นช่วงระยะเวลาเช้า  จนกระทั่งถึง  5  โมงเช้า  และวันจะต้องไม่ตรงกับวันพระและวันพุธ  ถ้าหากตรงกันนั้นถือว่าใช้ไม่ได้ต้องหาวันใหม่  แต่ก็มีข้อยกเว้นไว้อีกเช่นกัน คือ หากนำสิ่งของเครื่องเซ่นเข้าไปในบริเวณสถานที่ศาลเจ้าพ่อดงไม้งามแล้ว  ระหว่างนั้นกวนจ้ำไม่อยู่หรือติดธุระหลังจากหลังจาก  5  โมงเช้าแล้วก็สามารถทำพิธี แก้บนได้  แต่ถ้าหากนำสิ่งของเครื่องเซ่นออกมาถือว่าใช้ไม่ได้  การปฏิบัติเช่นนี้ถือว่ากวนจ้ำหรือชาวบ้านผู้มาแก้บนจะต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้  (นายทำ  กาฬภักดี : สัมภาษณ์)
             ในการแก้บนแต่ละครั้ง  เครื่องเซ่นไหว้ที่จะขาดไม่ได้ คือ  ถาดใส่เสื้อ  ผ้าขาวม้า  ยกเว้น กางเกง  จำนวน  4  ถาด  หมากพลู
เปลือกไม้จัดทำเป็นคู่  4  คู่  ธูปเทียนดอกไม้   และข้าวสุก  ส่วน       เครื่องเซ่นอย่างอื่นแล้วแต่ว่าแต่ละคนได้บนบานไว้ว่าจะเอาอะไรมาแก้บน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพทางฐานะของแต่ละคน  เพราะว่าชาวบ้านเชื่อว่าวิญญาณของบรรพบุรุษจะพอใจก็ต่อเมื่อชาวบ้านได้มาแก้บนแล้ว  แต่จะเน้นที่การปฏิบัติว่าได้สัญญากับศาลเจ้าพ่อดงไม้งามไว้ว่าอย่างไรบ้าง เพราะชาวบ้านมีความเห็นตรงกันว่า  วิญญาณของบรรพบุรุษ  มีความซื่อตรงรักษาสัญญาและปฏิบัติดีกับทุกคน  ดังนั้นการแก้บนจึงเป็นความสบายใจของผู้ที่เคยบนบานไว้ว่าหากได้แก้บนแล้วตนเองจะพ้นจากความทุกข์ต่าง ๆ จากนี้ ไปชีวิตจะประสบแต่ความเจริญรุ่งตลอดไป    

 

ความเชื่อเกี่ยวกับการขึ้นศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม
               ประเพณีการเลี้ยงปีหรือขึ้นศาลเจ้าพ่อดงไม้งามของชาวบ่อกรุ ถือว่าเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อวิญญาณของผู้มีพระคุณและญาติบรรพชนที่ล่วงลับไปแล้ว  เพราะชาวบ้านเชื่อว่าบรรพบุรุษเป็นผู้มีพระคุณต่อลูกหลานรุ่นหลัง  เพราะท่านได้สร้างคุณงามความดีเอาไว้ และยังเป็นการแสดงออกถึงความสร้างความสัมพันธ์ของคนในชุมชนก่อให้เกิดความสามัคคีต่อส่วนรวมและเป็นการให้ความสำคัญแสดงออกถึงความเคารพนับถือต่อศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม  ชาวบ้านบ่อกรุ  จะกระทำขึ้นปีละ  1  ครั้ง  คือ  วันแรม  2  ค่ำ เดือน  7  ของทุกปี  แต่ถ้าหากปีใดตรงกับวันพระและวันพุธ  ก็จะเลื่อนออกไปอีก  1   วันในการเลี้ยงแต่ละครั้งประชาชนก็จะร่วมกันบริจาคเงินเพื่อเป็นการซื้อหมู  แต่เดิมนั้นจะใช้ตัวอ้นซึ่งเป็นป่าชนิดหนึ่งแต่เนื่องจากในปัจจุบันหายากและไม่มีจึงใช้หมูแทน  และเหล้าอีกจำนวน  1  เท หรือ ประมาณ  12  ขวด  เพื่อนำมาทำพิธีเลี้ยงปี  นอกจากนี้แต่ละครอบครัวก็จะนำเครื่องเซ่นไหว้ไปถวายต่อวิญญาณของบรรพบุรุษที่ศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม  ที่ได้บนบานต่อศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม  ไว้แล้วที่ยังไม่ได้ทำการแก้บนต่างก็จะนำมาแก้ในวันนี้ด้วย  โดยชาวบ้านจะมารวมกันที่ศาลเจ้าพ่อดงไม้งามพร้อมกันตั้งแต่ตอนเช้ากระทั่งถึงเวลาบ่ายโมง  ซึ่งจุดตรงนี้ได้แสดงถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันสร้างความสามัคคีสมานสามัคคี  ของคนในหมู่บ้าน

พิธีกรรมเกี่ยวกับการขึ้นศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม
              พิธีกรรมต่าง ๆบรรพบุรุษเป็นผู้ริเริ่มพิธีกรรมต่าง ๆ ขึ้นมาแล้วถือปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันมีลักษณะสำคัญ คือ  เป็นเครื่องหมายของกลุ่มชนหนึ่ง ๆ ซึ่งมีสัญลักษณ์ร่วมกัน และเน้นในเรื่องของจิตอันเป็นจุดมุ่งหมายใหญ่  เพื่อทำให้เกิดความสบายใจ  และกำลังใจ

 

 




ศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม




Copyright © 2010 All Rights Reserved.