ReadyPlanet.com


โรคแบคทีเรียกินเนื้อ รักษาได้ เพศชายเสี่ยงกว่าเพศหญิง


 "โรคแบคทีเรียกินเนื้อ" หรือ โรคเนื้อเน่า ที่กำลังระบาดในญี่ปุ่น พบไม่บ่อยแต่มีความรุนแรงมาก มีโอกาสเสียชีวิต-เกิดภาวะทุพพลภาพจากโรคสูง พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง อ่านต่อที่นี่ www.worldsbestlogos.com จากกรณีที่ว่าการมหานครโตเกียว เมืองหลวงประเทศญี่ปุ่น ออกคำเตือนประชาชนหลังพบผู้ติดเชื้อโรคแบคทีเรียกินเนื้อ หรือ โรคเนื้อเน่า (flesh-eating-disease) ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อ สเตรปโตคอคคัส กลุ่มเอ เพิ่มสูงขึ้นโดยพบผู้ติดเชื้อแบคทีเรียกินเนื้อคนแล้ว 517 ราย ทั้งนี้ ข้อมูลสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ได้สรุปข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และแนวทางการป้องกันเกี่ยวกับโรคนี้ว่า การวินิจฉัยและรักษาโรคตั้งแต่ระยะเริ่มแรกได้สามารถลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยลงได้ ในประเทศไทยโรคนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่โดยเมื่อปี .. 2562 ช่วงเดือนกรกฎาคม มีรายงานข่าวพบผู้ป่วยด้วยโรคแบคทีเรียกินเนื้อเป็นจำนวนมากที่ .น่าน โดยเฉพาะในกลุ่มเกษตรกรและชาวนา ซึ่งจากการสอบสวนการระบาดของโรคในพื้นที่โดยสำนักงานป้องกันควบคุมโรคเขตที่ 1 ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน และโรงพยาบาลน่าน ในช่วงเดือนมิถุนายน ถึง กรกฎาคม .. 2562 มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาด้วยโรคแบคทีเรียกินเนื้อ 51 ราย มีผู้เสียชีวิต 5 ราย

โรคแบคทีเรียกินเนื้อ คือ อะไร

โรคแบคทีเรียกินเนื้อ หรือ โรคเนื้อเน่า (flesh-eating disease) หรือ ชื่อทางการแพทย์ คือ โรค necrotizing fasciitis เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียอย่างรุนแรงที่ผิวหนังชั้นลึก ตั้งแต่ชั้นหนังกำพร้า ชั้นหนังแท้ ชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ไปจนถึงชั้นเนื้อเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดการเน่าตายของเนื้อเยื่อบริเวณที่เกิดการติดเชื้อ และอาจลุกลามไปยังส่วนอื่น ของร่างกายได้ โรคนี้พบไม่บ่อยแต่มีความรุนแรงมาก ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตหรือเกิดภาวะทุพพลภาพจากโรคตามมาได้สูงหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที สำหรับประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยด้วยโรคแบคทีเรียกินเนื้อทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ประมาณ 15.5 รายต่อประชากรแสนราย และมีอัตราการเสียชีวิตประมาณร้อย 17-49 ขึ้นกับชนิดของเชื้อก่อโรค ความรุนแรงของโรคและตำแหน่งที่มีการติดเชื้อ โรคประจำตัว ภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย รวมถึงระยะเวลาตั้งแต่ที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการจนกระทั่งได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม ช่วงระยะเวลาที่พบผู้ป่วยด้วยโรคนี้มากที่สุด คือ ช่วงเดือนมีนาคม ถึง มิถุนายน และรองลงมา คือ เดือนกรกฎาคม ถึง ตุลาคม ของทุกปี สาเหตุของโรคแบคทีเรียกินเนื้อ เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียโดยอาจเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียเพียงชนิดเดียว (monomicrobial infection) หรือหลายชนิดร่วมกัน (polymicrobial infection) เชื้อแบคทีเรียก่อโรคมีทั้งชนิดที่ใช้ออกซิเจน (aerobic bacteria) และไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic bacteria)

อย่างไรก็ดี พบว่า เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุที่สำคัญ คือ เชื้อสเตร็ปโตค็อกคัส กลุ่มเอ (Group A Streptococci) แต่เชื้อที่มีความรุนแรง คือ เชื้อแอโรโมแนส ไฮโดรฟิลา (Aeromonas hydrophila)

ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคแบคทีเรียกินเนื้อ

พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ ได้แก่ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือมีโรคประจำตัวที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น เบาหวาน ตับแข็ง ไตวาย 

ผู้ที่มีโรคหลอดเลือดส่วนปลายตีบหรืออุดตัน 

ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการรักษาด้วยเคมีบำบัด 

ผู้ที่มีภาวะอ้วน 

ผู้ที่กินยาสเตียรอยด์ 

ผู้ที่ได้ยากดภูมิคุ้มกัน 

กลุ่มเกษตรกรและชาวนาที่มักเกิดบาดแผลเล็ก น้อยๆ ในระหว่างการทำงาน และสัมผัสกับเชื้อโรคที่อยู่ในดินหรือน้ำ จากการเดินลุยหญ้า นาข้าว เหยียบย่ำโคลนระหว่างการทำเกษตรกรรม เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ที่มีบาดแผลเล็กน้อย เช่น ของมีคมบาดหรือตำ แมลงสัตว์กัดต่อย ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุ ผู้ที่มีแผลหลังการผ่าตัด รวมถึงผู้ที่มีแผลหลังจากการป่วยด้วยโรคสุกใสแต่ไม่ได้รับการทำความสะอาดบาดแผล หรือทำความสะอาดบาดแผลไม่เหมาะสม สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแบคทีเรียกินเนื้อได้เช่นกัน อาการโรคแบคทีเรียกินเนื้อ

ในระยะเริ่มแรกของโรคผู้ป่วยมักมีความผิดปกติเพียงเล็กน้อยบริเวณผิวหนังที่มีการติดเชื้อ และมีอาการไม่ชัดเจน ในเด็กเล็กมักบอกอาการผิดปกติไม่ได้อย่างจำเพาะเจาะจงแต่อาจแสดงออกในลักษณะอาการหงุดหงิดง่าย งอแงมากผิดปกติ ร่วมกับปฏิเสธการเคลื่อนไหวของอวัยวะหรือผิวหนังบริเวณที่มีการติดเชื้อ ตำแหน่งที่พบรอยโรคส่วนใหญ่ คือ บริเวณแขน ขา และเท้า ต่อมาเมื่อการติดเชื้อลุกลามมากขึ้น ผู้ป่วยจะเริ่มมีไข้สูง ร่วมกับผิวหนังบริเวณที่มีการติดเชื้อจะเริ่มบวม แดง ร้อนอย่างชัดเจน ผู้ป่วยมักมีอาการปวดบริเวณดังกล่าวอย่างมาก ทั้งนี้ อาการปวดจะค่อยๆ รุนแรงมากขึ้น โดยไม่สอดคล้องกับอาการผิดปกติบริเวณผิวหนังที่ตรวจพบ และขอบเขตของรอยโรคมักไม่ชัดเจน โดยพบว่าบริเวณที่กดเจ็บจะกว้างกว่าบริเวณผื่นแดง เนื่องจากพยาธิสภาพของโรคเกิดลึกในชั้นใต้ผิวหนัง ผู้ป่วยบางรายอาจมีผิวหนังพองเป็นตุ่มน้ำหรือถุงน้ำ (อาจมีเลือดปน) บริเวณผิวหนังที่มีการติดเชื้อ หรือบางรายอาจคลำได้ฟองอากาศในเนื้อเยื่อ (crepitation) ร่วมด้วย เมื่อโรคดำเนินต่อไป สีของผิวหนังบริเวณที่มีการติดเชื้อจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ ม่วง หรือดำ เนื่องจากเกิดการเน่าตายของเนื้อเยื่อชั้นไขมันใต้ผิวหนัง และชั้นเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อบริเวณนั้นอย่างรุนแรง  blockquote{ border:1px solid #d3d3d3; padding: 5px; }

แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.