ReadyPlanet.com


น้ำท่วมดูไบ เหตุจากฝนเทียมหรือ Climate Change?


 ฝนตกหนักในรอบ 75 ปีที่ผ่านมาถล่มสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ส่งผลให้น้ำท่วมทางหลวงสายหลักและทำให้ต้องระงับเที่ยวบินที่สนามบินนานาชาติดูไบ อ่านต่อที่นี่ www.sergio-zevs.com ฝนเริ่มตกในคืนวันจันทร์ และเช้าวันอังคารพายุรุนแรงขึ้น ก็ยิ่งทำให้ฝนตกหนักมากขึ้น จนเมื่อถึงเย็นวันอังคาร ปริมาณน้ำฝนมากกว่า 142 มิลลิเมตร (5.59 นิ้ว) ก็ได้ท่วมเมืองทะเลทรายอย่างดูไบ


Khatm al-Shakla พื้นที่ใกล้เมือง Al Ain ในอาบูดาบี มีฝนตกหนักถึง 254 มิลลิเมตร (10 นิ้ว) เมื่อวันอังคารภายในเวลาเพียง 24 ชั่วโมง ซึ่งหนักที่สุดในประเทศ เจ้าหน้าที่ระบุ


โดยปกติแล้วปริมาณฝนหนักขนาดนี้จะเป็นปริมาณเฉลี่ยของฝนตกภายในหนึ่งปีครึ่ง ซึ่งศูนย์อุตุนิยมวิทยาแห่งชาติของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระบุว่า เป็นฝนที่ตกหนักในประวัติศาสตร์เป็นครั้งแรกในรอบ 75 ปีที่ผ่านมา


สำนักข่าว WAM ของรัฐรายงานว่า ฝนที่ตกหนักครั้งนี้ถือเป็นเหตุการณ์สภาพอากาศครั้งประวัติศาสตร์ที่เกินกว่าสิ่งใดก็ตามที่ได้มีการบันทึกไว้ตั้งแต่เริ่มรวบรวมข้อมูลในปี 2492” ซึ่งเป็นเหตุการณ์ก่อนก่อตั้งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในปี 2514


นอกจากนี้ ฝนยังตกในบาห์เรน โอมาน กาตาร์ และซาอุดิอาระเบีย แม้ว่าปริมาณฝนจะมีนัยสำคัญอย่างมากในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ก็ตาม


สนามบินนานาชาติดูไบ ซึ่งเป็นสนามบินที่พลุกพล่านที่สุดสำหรับการเดินทางระหว่างประเทศและเป็นศูนย์กลางเส้นทางระยะไกลของสายการบินเอมิเรตส์ประสบกับการหยุดชะงักครั้งใหญ่หลังจากเผชิญกับปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยของปีที่ 94.7 มิลลิเมตร (3.73 นิ้ว)


สนามบินดูไบยังขอให้ผู้โดยสารอย่ามาสนามบิน เว้นแต่จะมีความจำเป็นจริงๆ จากสภาพอากาศเลวร้ายแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน


สายการบินเอมิเรตส์ระงับการเช็คอินสำหรับผู้โดยสารที่ออกจากสนามบินนานาชาติดูไบตั้งแต่เวลา 8.00 . ของวันที่ 17 เมษายน จนถึงเที่ยงคืน เนื่องจากปัญหาในการปฏิบัติงานที่เกิดจากสภาพอากาศและสภาพถนนที่ไม่เอื้ออำนวย


พื้นที่ด้านในของประเทศบางแห่งบันทึกปริมาณฝนมากกว่า 80 มิลลิเมตร ภายใน 24 ชั่วโมงจนถึง 08.00 . ในวันอังคาร ซึ่งเข้าใกล้ค่าเฉลี่ยรายปีที่ประมาณ 100 มิลิเมตร


ฝนตกถือเป็นเรื่องผิดปกติในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บนคาบสมุทรอาหรับที่แห้งแล้ง แต่จะเกิดขึ้นเป็นระยะๆ ในช่วงฤดูหนาวที่อากาศเย็นลง


บ้านเรือนถูกน้ำท่วม รวมไปถึงทางด่วนสายหลัก และมีรถยนต์ที่ถูกจอดทิ้งตามท้องถนนทั่วดูไบ ขณะที่ทางการส่งรถออกไปเพื่อสูบน้ำออกจากถนน ถนนหลายสายและพื้นที่อื่นๆ ไม่มีระบบระบายน้ำ เนื่องจากฝนไมได้ตกเป็นประจำ


ศูนย์การค้าหลักๆอย่างดูไบมอลล์ และมอลล์ออฟเดอะเอมิเรตส์ก็เจอน้ำท่วม และสถานีรถไฟใต้ดินดูไบอย่างน้อยหนึ่งแห่ง น้ำท่วมถึงข้อเท้าในจากภาพที่โพสต์บนโซเชียลมีเดีย


ศูนย์อุตุนิยมวิทยาแห่งชาติโพสต์ใน X เรียกร้องให้ประชาชนระมัดระวังให้มากและอยู่ให้ห่างจากพื้นที่น้ำท่วมและรับน้ำ


สำนักงานสื่อของรัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์โพสต์ในบัญชี X ว่า ฝนที่ตกลงมานี้เป็นเหตุการณ์สภาพภูมิอากาศที่ผิดปกติคาดว่าฝนจะตกเพิ่มอีก


โรงเรียนถูกปิดทั่วสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และคาดว่าจะยังคงปิดในวันพุธ รัฐบาลดูไบยังได้ขยายเวลาการทำงานทางไกลให้กับพนักงานจนถึงวันพุธ



แล้วทำไมดูไบถึงได้เจอฝนแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน?

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า น้ำฝนมีความเกี่ยวข้องกับระบบพายุขนาดใหญ่ที่เคลื่อนผ่านคาบสมุทรอาหรับและเคลื่อนตัวข้ามอ่าวโอมาน ซึ่งได้นำสภาพอากาศชื้นผิดปกติมาสู่ประเทศเพื่อนบ้านโอมานและอิหร่านทางตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย


คอลิน แม็กคาร์ธี นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศ อธิบายว่า ฝนที่ตกหนักขนาดนี้มีสาเหตุมาจากพายุฝนฟ้าคะนองรุนแรงหลายรอบที่ก่อตัวจากน้ำอุ่นของอ่าวเปอร์เซีย


นักอุตุนิยมวิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศบางคนชี้ให้เห็นว่า การทำฝนเทียม(cloud seeding) อาจทำให้ฝนตกหนักในเมืองทะเลทรายแห่งนี้


รายงานหลายฉบับอ้างนักอุตุนิยมวิทยาที่ศูนย์อุตุนิยมวิทยาแห่งชาติ ที่บอกว่า พวกเขาบินขึ้นไปทำฝนเทียม 6-7 เที่ยวก่อนฝนตกตามรายงานของสำนักข่าว AP AP


ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญรายอื่นๆ ชี้ว่าสาเหตุของฝน มากจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยในรายงานของสำนักข่าวเอเอฟพี ฟรีเดอริก อ็อตโต นักอุตุนิยมวิทยากล่าวว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ฝนที่สร้างความเสียหายและทำลายล้างในโอมานและดูไบจะหนักขึ้นอีก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากฝีมือมนุษย์


ดูไบไม่ใช่ว่าเป็นเมืองที่ไม่มีฝุ่น แต่พายุได้กวาดฝุ่นจำนวนมหาศาลออกไปทั่ว ฝุ่นก็เป็นเหมือนสารที่ทำให้เกิดการควบแน่นของก้อนเมฆ ดังนั้นเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่ามาจากการทำฝนเทียม เมื่อฝุ่นปริมาณเท่าทะเลทรายถูกแขวนลอยอยู่เหนือศีรษะเจฟฟ์ blockquote{ border:1px solid #d3d3d3; padding: 5px; }

แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.