1
ประวัติความเป็นมาของคนไทยเชื้อสายลาวครั่ง
ประวัติความเป็นมาของลาวครั่งนั้น จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่าบรรพบุรุษได้อพยพมาจาก
อาณาจักรเวียงจันทร์ และหลวงพระบางพร้อมกับลาวกลุ่มอื่นๆได้อพยพเข้ามาที่ประเทศไทยด้วยเหตุผลที่ทางการเมืองและ
เป็นเชลยศึกยามสงคราม อาศัยอยู่บริเวณภาคกลางของประเทศไทย
สิริวัฒน์ คำวันสา (2529 : 20) ได้กล่าวว่าลาวครั่งเป็นชื่อของภาษาและกลุ่มผู้มีเชื้อสาย
ลาวกลุ่มหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ในภาคกลางของประเทศไทยเช่นในจังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัด
อุทัยธานี ฯลฯ ลาวครั่งมักจะเรียกตนเองว่า "ลาวขี้ครั่ง" หรือ "ลาวคั่ง" ความหมายของคำว่า "ลาวครั่ง" ยังไม่ทราบความหมาย
ที่แน่ชัดบางท่านสันนิฐานว่ามาจากคำว่า "ภูฆัง" ซึ่งเป็นชื่อของภูเขาที่มีลักษณะคล้ายระฆัง อยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ
ของหลวงพระบางในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อันเป็นถิ่นฐานเดิมของลาวครั่ง
วัลลียา วัชราภรณ์ (2534 : 11-12) ได้สรุป จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เชื่อแน่ว่าชาวลาวครั่ง
ถูกกวาดต้อนเข้ามาในประเทศไทยในรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีปีพุทธศักราช 2321 และในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระ
พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชในปีพุทธศักราช 2334 ไม่ปีใดก็ปีหนึ่งอย่างแน่นอน เพราะไทยยกกองทัพไปตีเมืองหลวงพระ
บาง และกวาดต้อนครอบครัวของชาวลาวมาในช่วงนั้น เนื่องจากแพ้สงคราม
ลักษณะทั่วไปของลาวครั่ง คือมีรูปร่างค่อนข้างไปทางสูงหรือสันทัด ทั้งหญิงและชายผิวค่อนข้อง
เหลือง ตาสองชั้น ใบหน้าไม่เหลี่ยมมากจมูกมีสันผมเหยียดตรง ชอบนุ่งผ้าสิ้นคลุมเข่า นุ่งซิ่นหมี่มีดอก ลาวครั่งมีเอกลักษณ์
ทางวัฒนธรรม ในการทอผ้าเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน และใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆโดยเฉพาะเทศกาลต่างๆ
จากเอกสารของนักวิจัยที่ทำการค้นคว้าและศึกษาอาจจะสรุปความหมายของ ลาว
ครั่ง ได้ 2 ประเด็น คือ
ประเด็นที่ 1 มาจากชื่อของภูเขา ในอาณาเขตของอาณาจักรหลวงพระบาง ที่มีรูปร่างเหมือนกับระฆัง จึงทำ
ให้เรียกชื่อตามนั้น คือ ลาวภูฆัง และ เรียกกันจนเพี้ยนกลายเป็น ลาวครั่ง
ประเด็นที่ 2 สันนิษฐานว่าสาเหตุที่เรียกชื่อกลุ่มของตนเองมาตั้งแต่โบราณว่า ลาวครั่ง เป็นการเรียกตาม
ชื่อของครั่งที่นิยมนำมาใช้ย้อมสีผ้าให้เป็นสีแดง เพื่อใช้ในการทอเป็นเครื่องนุ่งห่ม
สำหรับคนไทยเชื้อสายลาวครั่งในจังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนมากปัจจุบัน อาศัยอยู่ในอำเภอเดิมบางนาง
บวชเช่นตำบลบ่อกรุ ตำบลหนองกระทุ่ม ตำบลป่าสะแกในอำเภอด่านช้าง เช่นตำบลหนอง-มะค่าโมง ส่วนมากนับถือศาสนา
พุทธ
วัฒนธรรมของชาวลาวครั่ง
คนไทยเชื้อสายลาวครั่งมีวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ของตนเองได้แก่ ภาษา การแต่ง
กาย ประเพณี และพิธีกรรมความเชื่อ ต่างๆโดยได้ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน
v ภาษาที่ใช้ คือภาษาลาวครั่ง นักภาษาศาสตร์ได้จัดภาษาลาวครั่งอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได
v การแต่งกายของคนไทยเชื้อสายลาวครั่ง จะมีแบบฉบับเป็นของตนเองซึ่งนำวัสดุจากธรรมชาติ
ในท้องถิ่นคือ ฝ้าย และไหม ที่เป็นวัสดุในการทอ เทคนิคที่ใช้มีทั้งการจกและมัดหมี่ ผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ที่โดด
เด่นของชาวลาวครั่งคือ ผ้าซิ่นมัดหมี่ ต่อตีนจก ซึ่งมีลายผ้าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น และ ผ้าขาวม้า 5 สี
มีลวดลายหลากหลายและสีที่ใช้เป็นสีที่ได้จากธรรมชาติ
การทอผ้าแบบพื้นบ้าน , ผ้าขาวม้า 5 สี , การนุ่งผ้าซิ่นต่อตีนจก
เช่นสีเหลืองนำมาจากหัวขมิ้น สีดำนำมาจากมะเกลือ + เทา (ตะไคร่น้ำ) สีครามได้มาจากต้น
ครามผสมกับปูนกินหมาก สีแดงได้มาจากครั่ง นอกจากจะทอไว้เพื่อใช้ในครัวเรือนแล้ว ยังทอเพื่อการจำหน่าย
เป็นรายได้เสริมจากอาชีพหลัก และอาชีพหลัก ก็คือ เกษตรกรรม เนื่องจากสภาพดินเหมาะแก่การเพาะปลูกเป็นอย่างมาก
v ความสามัคคีของลาวครั่ง ชาวลาวครั่งจะมีความสามัคคีกันอย่างมากไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือ
กันไม่ว่าจะเป็นกลุ่มของเครือญาติหรือเพื่อนบ้าน เช่น ลงแขกเกี่ยวข้าว ทำไร่ หรือแม้แต่งาน
บุญ งานศพ งานรื่นเริงต่างๆ ชาวบ้านก็จะมาช่วยงานกันเป็นจำนวนมากตั้งแต่เริ่มงานจนงาน
เสร็จเรียบร้อย
ประเพณีของชาวลาวครั่ง มีประเพณีที่หลากหลายดั่งนี้
1. ประเพณีพิธีกรรมและความเชื่อ
พิธีกรรมและความเชื่อ
ชาวลาวครั่ง มีความเชื่อในเรื่องผีบรรพบุรุษเป็นอย่างมาก การนับถือผีของชาวลาวครั่งเป็นการถือผีตามบรรพบุรุษ
คือผีเจ้านายและผีเทวดา การนับถือมีอิทธิพลต่อชาวลาวครั่งมาก แม้แต่ในแง่ของการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการประกอบพิธีกรรม
หรือการดำรงชีวิตประจำวัน ก็จะต้องไปข้องเกี่ยวกับผีของบรรพบุรุษ
3
เนื่องจากอาชีพหลักของชาวลาวครั่ง คือการทำนา จึงมีประเพณีความเชื่อ ที่ถือปฏิบัติกันมาเพื่อ
ความอุดมสมบูรณ์ คือ พิธีบูชาเซ่นสรวงแม่ธรณี และแม่โพสพ ก่อนหว่านข้าวเป็นการบอกกล่าวแม่ธรณีโดยจัดวางเครื่องเซ่นไว้
บนพื้นดินบริเวณหัวคันนาและกล่าวแก่แม่ธรณีว่า จะทำนาแล้วขอให้คนและ ควายอยู่ดีมีสุขสบาย คราดไถอย่าให้หัก
บ่ได้มาแย่งดิน ขอเพียงแค่ทำกิน พิธีนี้ภาษาถิ่นเรียกว่า พิธี แฮกนา
พิธีที่เกี่ยวกับความเชื่ออีกวิธีหนึ่งคือ พิธีศพ เมื่อนำศพผู้ตายใส่ลงหีบ ถ้าเป็นชายก็จะใช้ผ้าขาวม้าของผู้ตาย
คลุมทับผ้าขาวบนฝาหีบ ถ้าเป็นหญิงก็จะคลุมหีบด้วยสไบของผู้ตาย และจะเผาเครื่องนุ่งห่มต่างๆของผู้ตาย เช่น ผ้าขาวม้าไหม โสร่งไหม
ผ้าพุ่งไหม ผ้าม่วงโรง หรือผ้าซิ่นมัดหมี่ ผ้าสไบ เสื้อฯลฯ เผาไปด้วย พิธีนี้จึงเป็นสาเหตุแห่งความสูญเสียผ้าโบราญที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์
และโบราณคดีไป
พิธีกรรมมีความสัมพันธ์กับความเชื่อ เพราะพิธีกรรมต้องมีความเชื่อเป็นพื้นฐานของการกระทำไม่ว่าจะเป็น
ความเชื่อต่อสิ่งใด ฉะนั้นความเชื่อจึงเป็นรากฐานการกระทำ ความเชื่อเรื่องการขึ้นศาลเจ้าพ่อดงไม่งาม ก็เช่นเดียวกันชาวลาวครั่ง
มีความเชื่อเหมือนกับชุมชนโดยทั่วไปโดยเชื่อว่าภายในสถานที่แห่งนี้ เป็นที่อยู่ของวิญญาณของบรรพบุรุษ ที่คอยให้ความคุ้มครอง
และ ยังได้แสดงให้เห็นถึงความเชื่อที่เกี่ยวกับเรื่องการแบ่งแยก ระหว่างโลกของวิญญาณ และ โลกของมนุษย์ และ วิญญาณที่ดี
สามารถช่วยเหลือมนุษย์ได้โดยผ่านคนทรง การเซ่นสรวงศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม ทำให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในชีวิตและการนับถือต่อ
ผีวิญญาณบรรพบุรุษ ยังเป็นการควบคุมความประพฤติของคนในสังคมของหมู่บ้านบ่อกรุ แห่งนี้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังพลว่าชาวบ้าน
แห่งนี้ยังมีความเชื่อเรื่อง ภูตผีวิญญาณ อย่างเหนียวแน่น ถึงแม้พระพุทธศาสนาจะเข้ามามีบทบาทต่อสังคมชาวลาวครั่ง ก็ไม่ทำให้ความ
เชื่อนี้ลบล้างไป (ธวัช ปุณโณทก 2530 : 390 – 392) จากความเชื่อดังกล่าวชาวบ้านบ่อกรุ ได้มีการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อนั้น
โดยมีความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆเกี่ยวกับวิญญาณของบรรพบุรุษของชาวลาวครั่ง
ความเป็นมาของศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม
ในการศึกษาถึงความเป็นมาของศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม ซึ่งเป็นความเกี่ยวกับวิญญาณเจ้านายหรือวิญญาณของ
บรรพบุรุษที่บ้านบ่อกรุ ตำบลบ่อกรุ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรีนั้น ผู้วิจัยได้ศึกษาจากการสอบถามจากกวนจ้ำและผุ้อาวุธโส
ในหมู่บ้านพบว่าชาวบ้านบ่อกรุ นี้เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง ซึ่งอพยพมาจากหมู่บ้านหนองเหียนใหญ่ อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรีได้
พากันอพยพด้วยสาเหตุที่เกิดความแห้งแล้งไม่มีแหล่งน้ำ จึงได้ย้ายมาตั้งที่บ้านบ่อกรุ ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีอายุการตั้งบ้านมานาน
นับ 140 ปีมาแล้ว ซึ่งในการอพยพมาของชาวบ้านนั้น ชาวบ้านได้อัญเชิญวิญญาณของเจ้านายและวิญญาณบรรพบุรุษของตนเองมาด้วย
เพื่อให้ท่านคอยดูแลรักษา ปกป้องคุ้มภัยให้ชาวบ้านเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน สภาพพื้นที่ในช่วงแรกเดิมที่ของบ้านบ่อกรุนั้นจะเป็นป่าดงขนาด
ใหญ่มีอาณาบริเวณประมาณ 130 ไร่ นับได้ว่าเป็นบริเวณที่มีต้นไม้ใหญ่มีอายุหลายร้อยปีแห่งหนึ่งในหมู่บ้านบ่อกรุ ในครั้งนั้นสภาพป่าจึง
เป็นทางผ่านของทหารในการเดินทัพเพื่อไปทำสงครามมีกองทหารมาถึงบริเวณบ้านบ่อกรุ ผู้คุมจึงได้ทำการเซ่นสรวงเจ้าป่าเจ้าเขาเพื่อ
ให้ช่วยคุ้มครองจึงได้พักกำลังที่บริเวณป่าไม้ทางด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้านติดกับ ห้วยกุดเข้ พิธีเซ่นไหว้เจ้าป่าเจ้าเขาหรือบวงสรวง
ของฤกษ์เอาชัยจากเจ้าทหาร นายทหารที่เคารพนับถือ เครื่องเซ่นไหว้จะต้องมีไก่ต้น 1 ตัว อ้น 4 ตัวเหล้าต้ม 1 ไหหมากพลู 1 คำธูปเทียน
ยามวน ใบตอง 1 มวน ขณะที่ผู้ประกอบพิธีเซ่นไหว้บนศรีษะก็จะโพกผ้าสีแดงหนึ่งผืน หลังจากนั้นนายกองผู้คุมทหารก็สั่งเดินทัพ
4
ต่อไป ต่อมาชาวบ้านต่างให้ความเคารพ สถานที่แห่งนี้จึงได้ตั้งศาลเจ้าขึ้นจึงเรียกกันว่า ศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม และมอบให้ตาจำปา (นายจำปา)
เป็นตาเจ้าบ้านหรือกวนจ้ำ ดูแลรักษาปฏิบัติที่ตรงนั้นและได้สร้างศาลขึ้นครั้งแรกจำนวน 7 หลัง แต่ปัจจุบันมีทั้งหมด 9 หลังตั้งหัน
หน้าไปทางทิศตะวันตก โดยลักษณะการตั้ง
ศาลเจ้าพ่อดงไม้งามในปัจจุบัน
ศาลจะปลูกเป็นหลังเล็กๆ เรียงกันตามลำดับใต้ต้นไม้ใหญ่ บริเวณทั่วไปจะปกคลุมไปด้วยไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีอายุยืนยาวนับร้อยปี
เป็นจำนวนมากและมีต้นไม้ขนาดเล็กปะปนบ้าง ในการเลือกทำเลตั้งศาลนั้นคาดว่าชาวบ้านบ่อกรุ ได้เลือกตามความเหมาะสมสอดคล้องตาม
ความเชื่อที่มีมาแต่สมัยก่อนและได้มีการอนุรักษ์ดูแลรักษา สอดส่องดูแลช่วยกันทั้งหมู่บ้านจึงทำให้สภาพที่ตั้งศาลมีสภาพที่ดีอยู่จนถึงปัจจุบัน
ซึ่งโดยทั่วไปชาวบ้านมีความเชื่อว่าวิญญาณของบรรพบุรุษที่สิงสถิตอยู่ในบริเวณป่าดงไม้งามแห่งนี้ มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่คุ้มครองชาวบ้านให้
อยู่เย็นเป็นสุขภายในศาลที่ปลูกเป็นเรือนหลังเล็กๆ ประกอบไปด้วย เครื่องเซ่นบูชา เช่น พวงมาลัย ตุ๊กตารูปเสือม้า และดอกไม้ธูปเทียน
ชาวบ้านถือว่าวิญญาณของบรรพบุรุษจะช่วยคุ้มครองไปถึง ไร่ นา วัว ควาย และทรัพย์สินของคนในหมู่บ้าน คอยควบคุม ความประพฤติให้
ชาวบ้านอยู่ในทำนองคลองธรรม ไม่ทำผิดประเพณีกระทบต่อความสุขของส่วนรวม และการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะทำสิ่งใดก็ตาม
ในหมู่บ้านชาวบ้านมักจะบอกกล่าวต่อวิญญาณของบรรพบุรุษที่บริเวณศาลเจ้าพ่อดงไม้งามก่อนทุกครั้ง การที่ชาวบ้านไม่กล้าเข้าไปทำสิ่ง
ไม่ดีภายในบริเวณศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม เช่น ไม่เข้าไปตัดต้นไม้ และล่าสัตว์ จึงสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อของชาวบ้านที่มีต่อศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม
แห่งนี้ รวมถึงความร่วมมือความสามัคคีของชาวบ้านในการรักษาบริเวณป่าไม้แห่งนี้ไว้ได้อย่างสมบูรณ์เช่นเดิมและ ชาวบ่อกรุส่วนใหญ่ถือว่า
การดูแลรักษาป่าไม้บริเวณศาลเจ้าพ่อดงไม้งามเป็นหน้าที่ของทุกคน
นายทำ กาฬภักดี ( กวนจ้ำ )บางคนเล่าให้ฟังว่าเคยสอบถามจากปู่ ย่าคนแก่สมัยก่อนว่าชาวลาวซี – ลาวครั่งได้อพยพมาจาก
บ้านลำเหย อ.กำแพงแสนตอนที่อพยพมาได้อัญเชิญผ้าเหลือชิ้นเล็กๆของศาลที่นับถืออยู่ที่กำแพงแสนมาหนึ่งชิ้นและได้อัญเชิญมาโดยการ
ใส่หีบมาอย่างดีและ มาตั้งไว้ที่ศาลเจ้าพ่อดงไม้งามในปัจจุบันเพื่อสักการบูชาและปกปักรักษาตนเองและครอบครัว
สำหรับบุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงที่จะต้องคอยปฏิบัติในการประกอบพิธีกรรมคือ กวนจ้ำ สำหรับกวนจ้ำนั้น จะเป็นบุคคล
ที่ชาวบ้านเลือก โดยเลือกเอาบุคคลผู้ที่มีความรู้ทั้งด้านเกี่ยวกับพิธีกรรม มีคุณงามความดี เป็นบุคคลที่ชาวบ้านยอมรับว่ามีความเหมาะสมที่
จะเป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรมต่างๆได้เป็นที่เคารพนับถือของคนในหมู่บ้านบ่อกรุนอกจากนี้ยังเป็นผู้สืบทอดมาจากบรรพบุรุษที่ได้รับการ
ถ่ายทอดจากรุ่นปู่อีกทอดหนึ่งด้วย (นายทำ กาฬภักดี 2548 : สัมภาษณ์ ) ความเชื่อดังกล่าวผู้วิจัยได้แยกศึกษาออกเป็น3ประเด็นดังนี้
1.ความเชื่อเกี่ยวกับการบนบาน
2.ความเชื่อเกี่ยวกับการแก้บน
3.ความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมการขึ้นศาลเจ้าพ่อดงไม้งามประจำปี
ความเชื่อเกี่ยวกับการบนบาน
นายทำ กาฬภักดี กวนจ้ำ ปัจจุบันอยู่บ้านหนองป่าแซง บ้านเลขที่ 27 ม.6 ต.บ่อกรุ อ.เดิมบางนางบวช
จ.สุพรรณบุรี เล่าให้ฟังว่า ชาวบ้านบ่อกรุ มีความเชื่อกับการบนบานมากเมื่อมีเรื่องเดือดร้อนต้องการความช่วยเหลือ ชาวบ้านจะไปบนบานให้
วิญญาณของบรรพบุรุษที่ศาลเจ้าพ่อดงไม้งามช่วยเหลือ ลักษณะดังกล่าวนี้จะเหมือนกันกับชาวบ้านในถิ่นอื่นๆ คือในกรณีที่สภาวะการณ์ที่ต้อง
เสี่ยงหรือต้องการความช่วยเหลือ ต้องการกำลังใจก็จะมีการบนบานไว้ถ้าเป็นไปตามที่ขอที่บนบานก็จะมาเลี้ยงเซ่นไหว้ โดยส่วนมากจะเป็นเรื่อง
เกี่ยวกับของหายและเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพเจ็บป่วยหรือการเดินทางในที่ต่างๆที่ห่างไกลเช่น วัวควาย รถยนต์ สิ่งของต่างๆที่ถูกขโมย หรือสูญหาย
ชาวบ้านก็จะบนบานขอให้ได้ของคืนมา แม้แต่การเดินทางไปในที่ต่างๆชาวบ้านก็จะยกมือบอกกล่าวขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพหรือเกี่ยวกับโรค
ภัยต่างๆการสอบเข้าเรียนต่อการสอบเข้าทำงานได้และการบนบานเกี่ยวกับการเกณฑ์ทหารเพื่อไม่ให้เป็นทหารเป็นต้นถ้าได้ตามความประสงค์แล้วก็จะ
นำสิ่งของที่ได้บนบานไว้มาแก้บน ( นายทำ กาฬภักดี 2548 : สัมภาษณ์ )
ในการบนบานผู้บนจะนำดอกไม้ ธูปเทียน โดยนำไปตรงหน้าศาลหรือบอกกล่าวด้วยวาจาซึ่งไม่จำเป็นต้องให้กวนจ้ำเป็น
ผู้นำก็ได้เช่นกัน และถ้าเป็นไปตามต้องการจะถวายสิ่งของอะไรบ้างเช่นเหล้า 2 ขวด ไก่ต้ม 2 ตัวพวงมาลัย เป็นต้นเหตุที่ชาวบ้านนิยมมาบนบาน
เพราะสะดวก ง่าย ทำได้ทุกโอกาส ทุกเวลา เมื่อได้สมกับที่บนบานไว้ก็จะมาแก้บนทันที จากการสังเกตพบว่า ผู้ที่มาบนบานแต่ละคนจะมาบนบาน
เนื่องจากว่ามีความทุกข์ ต้องการที่พึ่งทางใจแม้ว่าการบนบานจะไม่เห็นผลในทันที แต่ก็ได้รับความสบายใจ และมีความสุขความเชื่อในศาลเจ้าพ่อดงไม้งามแห่งนี้
ความเชื่อเกี่ยวกับการแก้บน
การแก้บน เป็นพิธีกรรมความเชื่อของชาวบ้านว่า เมื่อได้ทำการบนบานในเรื่องใดแล้ว
หากกิจดังกล่าวสำเร็จตามความต้องการจะต้องไปแก้บนตามที่บนบานไว้ โดยการนำเครื่องเซ่นไหว้ตามที่ได้บอกกล่าวไว้ตั้งแต่ต้นมาถวายแก้บน
ต่อศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม ซึ่งในส่วนนี้จำเป็นต้องมีกวนจ้ำเป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรม ซึ่งจากการศึกษาพิธีกรรมการแก้บนของชาวบ้านบ่อกรุ
นั้นพบว่า เมื่อชาวบ้านมีความทุกข์ใจและได้มาบนบานต่อวินญาณบรรพบุรุษที่ศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม
ความเชื่อเกี่ยวกับการแก้บนนี้ ชาวบ้านเชื่อว่า หากใครไปบนบานไว้แล้ว แม้ว่าผลของการ
บนบานบางครั้งอาจจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ความเชื่อเกี่ยวกับอำนาจศักดิ์สิทธิ์ของศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม ยังคงถูกฝังลึกอยู่ภายในจิตสำนึกของ
ชาวบ้านบ่อกรุ อยู่เสมอ จึงทำให้ชาวบ้านต่างเชื่อกันว่าหากไม่ไปแก้
บนจะทำให้ครอบครัวหรือบุคคลนั้นได้รับความเดือดร้อนและมีอันเป็นไปหรือไม่ก็จะเจ็บไข้ได้ป่วยอย่างอื่นเมื่อไปหาหมอดูหรือคนทรงเจ้าก็จะบอก
ว่าผู้นั้นยังไม่ได้แก้บนต้องทำการแก้บนเสียก่อนจึงจะทำให้ผู้นั้นหายป่วย
การแก้บนเพื่อแสดงความขอบคุณหลังการบนบานผู้แก้บนจะต้องนำเครื่องเซ่นไหว้ตามที่ได้สัญญาไว้มาถวาย หลังจาก
ที่วิญญาณบรรพบุรุษได้ให้ความคุ้มครองรักษาให้ได้รับความสำเร็จแล้ว พิธีแก้บนกระทำโดยการจัดเครื่องเซ่นไหว้ตามที่ได้ตกลงบนบานไว้
เช่นบอกกล่าวว่าจะแก้บนด้วยเหล้า 1 ขวด ไก่ต้น 1 ตัวหรือหัวหมู เป็นต้น และจะต้องเตรียมสิ่งของที่ใช้ประกอบกับการแก้บนอีกคือ ถาดใส่เสื้อผ้าขาวม้า
ยกเว้นกางเกงห้ามนำมาโดยเด็ดขาด วางใส่ถาดจำนวน 4 ถาด พร้อมด้วยข้าวสุก หมากพลู เปลือกไม้จัดเป็นคู่ ๆ วางใส่ถาดเสื้อผ้านั้น
และนำสิ่งของเหล่านี้ไปวางต่อหน้าศาลเจ้าพ่อดงไม้งามและกวนจ้ำผู้ประกอบพิธีจะเริ่มทำพิธีกรรม จุดธูปเทียนดอกไม้ บูชาต่อวิญญาณของบรรพบุรุษ
ทีสิ่งสถิตอยู่บริเวณนั้น กวนจ้ำก็จะบอกกล่าวเป็นคำพูด คำพูดนั้นก็จะเป็นภาษาพื้นเมือง คำพูดบอกกล่าวนี้จะพูดผิดหรือตกหล่นคำใดคำหนึ่งไม่ได้
โดยเด็ดขาด และบอกวัตถุประสงค์ของการแก้บนว่าเนื่องจากเรื่องใด
ระยะเวลาในการแก้บน
สำหรับระยะเวลาในการแก้บนนั้นมีข้อห้ามข้อควรปฏิบัติคือ เวลาแก้บนต้องเป็นช่วงระยะ
เวลาเช้า จนกระทั่งถึง 5 โมงเช้า และวันจะต้องไม่ตรงกับวันพระและวันพุธ ถ้าหากตรงกันนั้นถือว่าใช้ไม่ได้ต้องหาวันใหม่ แต่ก็มีข้อยกเว้นไว้
อีกเช่นกันคือหากนำสิ่งของเครื่องเซ่นเข้าไปในบริเวณสถานที่ศาลเจ้าพ่อดงไม้งามแล้ว ระหว่างนั้นกวนจ้ำไม่อยู่หรือติดธุระหลังจากหลังจาก 5 โมงเช้า
แล้วก็สามารถทำพิธี แก้บนได้ แต่ถ้าหากนำสิ่งของเครื่องเซ่นออกมาถือว่าใช้ไม่ได้ การปฏิบัติเช่นนี้ถือว่ากวนจ้ำหรือชาวบ้านผู้มาแก้บนจะต้อง
ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ (นายทำ กาฬภักดี:สัมภาษณ์)
ในการแก้บนแต่ละครั้ง เครื่องเซ่นไหว้ที่จะขาดไม่ได้คือ ถาดใส่เสื้อ ผ้าขาวม้า ยกเว้นกางเกง จำนวน 4 ถาด หมากพลู
เปลือกไม้จัดทำเป็นคู่ 4 คู่ ธูปเทียนดอกไม้ และข้าวสุก ส่วน เครื่องเซ่นอย่างอื่นแล้วแต่ว่าแต่ละคนได้บนบานไว้ว่าจะเอาอะไรมาแก้บนทั้งนี้
ขึ้นอยู่กับสภาพทางฐานะของแต่ละคน เพราะว่าชาวบ้านเชื่อว่าวิญญาณของบรรพบุรุษจะพอใจก็ต่อเมื่อชาวบ้านได้มาแก้บนแล้ว แต่จะเน้นที่การปฏิบัติ
ว่าได้สัญญากับศาลเจ้าพ่อดงไม้งามไว้ว่าอย่างไรบ้าง เพราะชาวบ้านมีความเห็นตรงกันว่า วิญญาณของบรรพบุรุษ มีความซื่อตรงรักษาสัญญาและปฏิบัติ
ดีกับทุกคน ดังนั้นการแก้บนจึงเป็นความสบายใจของผู้ที่เคยบนบานไว้ว่าหากได้แก้บนแล้วตนเองจะพ้นจากความทุกข์ต่างๆจากนี้ไปชีวิตจะประสบแต่ความเจริญรุ่งเรืองตลอดไป
บรรยากาศของการขึ้นศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม
ความเชื่อเกี่ยวกับการขึ้นศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม
ประเพณีการเลี้ยงปีหรือขึ้นศาลเจ้าพ่อดงไม้งามของชาวบ่อกรุถือว่าเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อวิญญาณ
ของผู้มีพระคุณและญาติบรรพชนที่ล่วงลับไปแล้ว เพราะชาวบ้านเชื่อว่าบรรพบุรุษเป็นผู้มีพระคุณต่อลูกหลานรุ่นหลัง เพราะท่านได้สร้างคุณงาม
ความดีเอาไว้และยังเป็นการแสดงออกถึงความสร้างความสัมพันธ์ของคนในชุมชนก่อให้เกิดความสามัคคีต่อส่วนรวมและเป็นการให้ความสำคัญ
แสดงออกถึงความเคารพนับถือต่อศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม ชาวบ้านบ่อกรุ จะกระทำขึ้นปีละ 1 ครั้ง คือ วันแรม 2 ค่ำเดือน 7 ของทุกปี แต่ถ้าหาก
ปีใดตรงกับวันพระและวันพุธ ก็จะเลื่อนออกไปอีก 1 วันในการเลี้ยงแต่ละครั้งประชาชนก็จะร่วมกันบริจาคเงินเพื่อเป็นการซื้อหมู แต่เดิมนั้นจะ
ใช้ตัวอ้นซึ่งเป็นป่าชนิดหนึ่งแต่เนื่องจากในปัจจุบันหายากและไม่มีจึงใช้หมูแทน และเหล้าอีกจำนวน 1 เทหรือประมาณ 12 ขวด เพื่อนำมาทำพิธี
เลี้ยงปี นอกจากนี้แต่ละครอบครัวก็จะนำเครื่องเซ่นไหว้ไปถวายต่อวิญญาณของบรรพบุรุษที่ศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม ที่ได้บนบานต่อศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม
ไว้แล้วที่ยังไม่ได้ทำการแก้บนต่างก็จะนำมาแก้ในวันนี้ด้วย โดยชาวบ้านจะมารวมกันที่ศาลเจ้าพ่อดงไม้งามพร้อมกันตั้งแต่ตอนเช้ากระทั่งถึงเวลาบ่ายโมง
ซึ่งจุดตรงนี้ได้แสดงถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันสร้างความสามัคคีสมานสามัคคี ของคนในหมู่บ้าน
พิธีกรรมเกี่ยวกับการขึ้นศาลเจ้าพ่อดงไม้งาม
พิธีกรรมต่างๆบรรพบุรุษเป็นผู้ริเริ่มพิธีกรรมต่างๆขึ้นมาแล้วถือปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันมีลักษณะสำคัญคือ
เป็นเครื่องหมายของกลุ่มชนหนึ่งๆซึ่งมีสัญลักษณ์ร่วมกันและเน้นในเรื่องของจิตอันเป็นจุดมุ่งหมายใหญ่ เพื่อทำให้เกิดความสบายใจ และกำลังใจ
2.ประเพณีสารทลาว
เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ วันสารทลาว คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ชาว
ลาวครั่งจะรวมกลุ่มกัน ทำกระยาสารท และ ขนมเพื่อใช้ในการทำบุญตักบาตรในตอนเช้าปัจจุบันก็ยังมีการ
สืบทอดประเพณีกันอยู่ แต่กระยาสารทในปัจจุบันส่วนมากนิยมซื้อแทนการทำ มีบางบ้านยังทำอยู่
3.ประเพณีการบวชพระ
ก่อนจะบวชเป็นพระ นาคจะต้องไปนอนอยู่วัดอย่างน้อย 3 คืน เพื่อท่องหนังสือเมื่อถึงวันงานญาติ ๆ จะนำม้าที่ทำขึ้นไปรับนาค
ที่วัดเพื่อมาทำพิธีอาบน้ำนาค หลังจากอาบน้ำนาคเสร็จก็จะนำนาคแห่รอบหมู่บ้านแล้วนำนาคมาทำพิธีสู่ขัวญ (ทำขวัญนาค) โดยหมอทำขวัญหรือพระก็ได้
ตกเย็นก็จะมีการจัดเลี้ยง พอรุ่งเช้าก็จะนำนาคไปแห่รอบอุโบสถ 3 รอบจากนั้นก็จะเป็นพิธีของสงฆ์ หลังจากเสร็จพิธีสงฆ์แล้วก็จะนำพระกลับบ้านเพื่อทำ
พิธีฉลองและสงฆ์น้ำพระ เป็นอันเสร็จพิธีการบวช
เครื่องแต่งกายนาคแบบโบราณ ล้างเท้าเพื่อขอขมาผู้เฒ่า , ผู้แก่
พิธีทำขวัญนาคแห่นาครอบอุโบสถ
9 4.ประเพณีการแต่งงาน
นายเทศ กาฬภักดี ( 2548 : สัมภาษณ์ )บ้านเลขที่ 57 ม. 1 ต.บ่อกรุ อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรีเล่าให้ฟังว่า ในพิธีการแต่งงาน
ของชาวลาวครั่ง จะต้องทำพิธีบูชาผีเทวดา โดยใช้ผ้าขาวม้า 1 ผืน เงิน 4 บาท ข้าวต้มมัดไม่ใส่ไส้ กล้วย เทียน ข้าวสุกโรยน้ำตาล ดอกไม้และเหล้า อีก 1 ขวด
ด้วยระบบความเชื่อเรื่องผีเจ้านายและผีเทวดาของชาวลาวครั่ง จึงมีข้อห้ามและบทลงโทษ สำหรับหญิงชาวที่ได้เสียกันก่อนแต่ง โดยจะต้องทำเสียผีที่บ้านของฝ่ายหญิง
ซึ่งจะมีการเซ่นไหว้ผีเจ้านายด้วย โดยใช้เหล้า 8 ไห ไก่ 8 ตัว นำไปฆ่าที่ศาลเจ้านายให้เลือดไก่หยดลงบนแท่นบูชาเจ้านาย เมื่อหญิงชายใดที่ตกลงจะอยู่กิน
กันฉันมีภรรยา จะต้องได้รับการอนุญาตจากญาติผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย หลังจากนั้นจะหาฤกษ์งามยามดีซึ่งชาวลาวครั่งเรียกว่า หักไม้ใส่ยาม
วันฟูและวันจม
ประเพณีแต่งงานของลาวครั่ง แต่เดิมจะมีการสู่ขวัญคู่บ่าวสาว โดยจะมีหมอมาทำพิธี มักทำกันในตอนเย็นวันสุกดิบ ทั้งเจ้าบ่าว
และเจ้าสาวจะทำพิธีสู่ขวัญน้อยที่บ้านของตนบางรายก็อาจจะมาสูขวัญน้อยรวมกันที่บ้านของเจ้าสาวในวันรุ่งขึ้นจะมีพิธีสู่ขวัญใหญ่ที่บ้านเจ้าสาวหมอขวัญ
จะเป็นผู้ที่คอยสั่งสอนอบรมคู่บ่าวสาว ให้รู้จักการครองเรือนตลอดจนการประพฤติตนใสฐานะของเขยและสะใภ้ เมื่อถึงวันงานฝ่ายเจ้าบ่าวจะจัดพาน
ขวัญแห่ไปทำพิธีที่บ้านเจ้าสาวซึ่งประกอบด้วยบายศรี พร้อมของหวานและเหล้า
การแห่ขันหมาก พิธีสู่ขวัญคู่บ่าวสาว
1 ขวด ฝ่ายเจ้าสาวก็จะเตรียมพานขวัญนี้ไว้เช่นเดียวกันเมื่อได้ฤกษ์แล้วก็จะยกขบวนพานขวัญ โดยจะใช้ไม้ กำพัน ซึ่งเป็นไม้สำหรับกรอด้าย ใช้หาบ
พานขวัญแทนไม้คาน เพราะเป็นเคล็ดว่าคู่บ่าวสาวจะรักใคร่กลมเกลียวกันเสมือนด้ายที่อยู่ในไม้กรอด้ายดังกล่าว ผู้ที่ทำหน้าที่หาบพานขวัญต้องเป็นคน
โสดเหมือนกับเพื่อนเจ้าสาว เมื่อถึงเรือนเจ้าสาวจะเป็นคนล้างเท้าให้เจ้าบ่าว ซึ่งจะมีที่พักเท้าเจ้าบ่าว เป็นหินลับมีด แล้วนำใบตองมาปูทับไว้อีกทีเมื่อผ่าน
ประตูทองแล้ว จะพาคู่บ่าวสาวไปพักไว้ที่ห้องหอ จะมีผู้ที่คอยต้อนรับเจ้าบ่าวและพาไปยังห้องหอ ซึ่งคน ๆนี้ จะต้องเป็นผู้ที่ยังไม่มีครอบครัว จะเป็นหม้าย
ไม่ได้ เพราะจะห้ามไม่ให้หม้ายเข้ามาถูกเนื้อต้องตัวคู่บ่าวสาวโดยเด็ดขาด เพราะเกรงว่าจะเป็นลาง ให้คู่สมรสเป็นหม้ายได้ ชาวลาวครั่งเชื่อในเรื่องฤกษ์
ยามการส่งตัวเข้าหออย่างเคร่งครัด เมื่อเสร็จสิ้นงานแล้วสะใภ้จะเป็นผู้นำเอาเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม หรือว่าที่นอนหมอนมุ้งไปกราบพ่อแม่ของสามี
ซึ่งในปัจจุบันการแต่งงานของชาวลาวครั่ง
บางบ้านก็มีการหลั่งน้ำสังข์ แต่ประเพณีการแต่งงานแบบเดิม ๆ ก็เริ่มเหมือนคนไทยในภาคกลางมากขึ้นทุกวัน แต่ก็ยังมีการทำแบบเดิม ๆอยู่บ้าง
5.ประเพณียกธง (วันสงกรานต์)
นายเทศ กาฬภักดี (2548 : สัมภาษณ์) ได้เล่าให้ฟังว่า มีการเล่าต่อกันมาจากบรรพบุรุษว่าพอถึงวันที่ 13 เมษายนของทุกปี
ถือว่าเป็นวันสงกรานต์ลง บรรดาเทวดาและนางฟ้าจะลงจากสวรรค์เพื่อมาเล่นสงกรานต์ เมื่อสงกรานต์เลิกชาวบ้านก็จะทำพิธียกธงขึ้นเพื่อส่งบรรดา
เทวดาและนางฟ้ากลับขึ้นสวรรค์ คนแก่บางคนก็เล่าว่าประเพณียกธงเป็นการยกธงเพื่อฉลองความสำเร็จของกลุ่มหรือของชุมชนชาวลาวครั่งพระ-
ปลัดบัวลอย เจ้าอาวาสวัดบ่อกรุ องค์ปัจจุบัน เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนตอนที่ชาวลาวซี – ลาวครั่ง อพยพมาจากเวียงจันทร์และมาพบกับพื้นที่
บริเวณบ้านบ่อกรุ ซึ่งเป็นพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ มากจึงปักหลักตั้งฐานทำมาหากินอยู่ที่ตำบลบ่อกรุ และก็มีการยกธงเพื่อเอาฤกษ์เอาชัย
และเพื่อเป็นการแสดงถึงความสำเร็จของกลุ่มชนที่ย้ายเข้ามาอยู่ในที่อุดดมสมบูรณ์ จึง กำหนดให้เป็นวันที่ 19 เมษายน ของทุกปีเป็นวันยกธง
ก่อนจะมาการยกธงชาวบ้านจะหาตัดไม้ไผ่ลำตรง ๆ ยาว ๆ เพื่อนำมาทำคันธง ส่วนผู้หญิงก็จะเตรียมทำผ้าธงประดับด้วยสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสวยงาม
เพื่อจะนำไปติดที่คันธง เมื่อถึงวันสุดท้ายของสงกรานต์ชาวบ้านก็จะนำคันธงมารวมกันที่วัดและเมื่อได้เวลาก็จะทำพิธีแห่ธง รอบวัด คันละ 3 รอบ
จากนั้นก็จะนำคันธงมาปักลงหลุม ที่เตรียมไว้ จากนั้น จะมีการร้องรำกันรอบคันธงของตัวเองอย่างสนุกสนาน คันธงจะถูกตั้งไว้ 3 วัน 3 คืน
ปัจจุบันประเพณีนี้มีการสืบทอดกันอยู่ 4 หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านบ่อกรุ หมู่บ้านทุ่งกฐิน หมู่บ้านหนองกระทุ่ม หมู่บ้านสระบัวก่ำ และปัจจุบัน
ช่วงกลางวันจะทีการแข่งกีฬา และการละเล่นต่าง ๆ ของผู้สูงอายุและรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นมาเพื่อเป็นการให้เกียรติและแสดงความเคารพนับถือผู้สูงอายุ
วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ในปัจจุบัน
สภาพความเป็นอยู่โดยทั่วไปของกลุ่มชนลาวครั่งในเขต อ.เดิมบางนางบวช และ อ.ด่านช้าง
จ.สุพรรณบุรี ในปัจจุบันจะ มีลักษณะคล้ายกับชาวภาคกลาง โดยทั่วไปประกอบอาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม เนื่องจากสภาพดินเป็นดินที่
เหมาะสมแก่การเพระปลูก และ มีโครงการระบบส่งน้ำของกรมชลประทาน จากเขื่อนกระเสียว เป็นระบบคลองส่งน้ำจึงทำให้ประชาชนส่วน
ใหญ่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม เช่น ปลูกอ้อย ทำนา และ ปลูกไม้ผล และพืชผักต่าง ๆ ส่วนวิถีการดำเนินชีวิต ของชาวลาวครั่ง
จะเป็นการดำเนินชีวิตที่อาศัยปัจจัยสี่เป็นหลัก มีระบบความสัมพันธ์แบบให้ความช่วยเหลือกัน และ มีระบบครอบครัวแบบเครือญาติ
ถึงแม้ว่าความเจริญทางด้านเทคโนโลยีจะแผ่ ขยายเข้ามาถึงหมู่บ้านแล้วก็ตามแต่ชาวลาวครั่งก็ยังคงต้องอาศัยธรรมชาติ และระบบความ
เชื่อให้ความเคารพนับถือสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติเหมือนกับในอดีต
สภาพทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน
สภาพทางเศรษฐกิจเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรในชุมชนนั้นได้เป็นอย่างดีว่าการดำรง
ชีพความเป็นอยู่เป็นอย่างไร โดยทั่วไปชาวลาวครั่ง ในเขตอำเภอเดิมบางนางบวช และ ใน เขตอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
อาชีพหลักในปัจจุบันของชาวลาวครั่ง ส่วนใหญ่ก็คือ การทำไร่อ้อย และการทำนาปลูกข้าวบางส่วน เนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจ
และ ภาคการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม จึงได้มีการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาล จนทำให้ชาวบ้านหันมาปลูกอ้อยเพื่อส่งเข้าโรงงาน
และ ทำให้อาชีพหลักของชาวบ้านแบบดั้งเดิม คือ การทำนาได้เปลี่ยนสภาพมาเป็นทำอ้อย แทน ดังนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่จึงเป็นพื้นที่
เกี่ยวกับการปลูกอ้อย นากจากนี้ชาวบ้านยังมีอาชีพเสริม หลังจากปลูกอ้อย บางคนก็หันมายึดอาชีพค้าขายแทนอาชีพเกษตรกรรม
และ ประชากรบางส่วนได้ย้ายเข้ามาในตัวเมือง เพื่อศึกษาต่อและได้เคลื่อนย้ายไปทำงานไนตัวเมืองและจังหวัดที่ใกล้เคียงเป็นจำนวนมาก
อาชีพเสริม คือ การทำสวนผัก และ สวนแบบผสมผสานเพราะสภาพดินไม่เหมาะแก่การทำนาและทำไร่ ชาวบ้านจึง
หันมาทำสวนแบบผสมผสานแทน ทำให้รายได้เฉลี่ยต่อครอบครัวพออยู่ได้
ด้านวัฒนธรรมในปัจจุบัน
ปัจจุบันการสืบทอดการทอผ้าแบบดั้งเดิมของชาวลาวครั่ง ได้มีการจัดตั้งกลุ่มแม่บ้านทอผ้า และ ทอกันทุกวัน บางคนทอ
ได้วันละ 4 - 5 ผืน และ ปัจจุบันโรงเรียนวัดทุ่งกฐิน ต. บ่อกรุ มีการถ่ายทอดให้กับเด็กนักเรียนในระดับชั้นประถม เพื่อสืบทอดต่อไป
ด้านประเพณีในปัจจุบัน
ในปัจจุบันก็ยังมีการสืบทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษกันทุกประเพณี แต่ก็มีเพี้ยนไปบ้างยกเว้นพิธีศพ
แบบโบราณของชาวลาวครั่งที่สูญหายไป ส่วนประเพณียกธงปัจจุบันมีอยู่ที่ ต.บ่อกรุ และ ต.หนองกระทุ่ม
คนไทยเชื้อสายลาวครั่ง มีวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมเป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นเป็นของตนเอง ได้แก่ ภาษา
การแต่งกาย ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อ ต่าง ๆ โดยได้ปฏิบัติ และ สืบต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน
ภาษาที่ใช้ประจำท้องถิ่น คือ ภาษาลาวซี ลาวครั่ง ซึ่งปัจจุบันก็ยังพูดภาษาท้องถิ่นนี้อยู่
การแต่งกาย ของลาวซี ลาวครั่ง จะมีแบบฉบับเป็นของตนเอง
ประเพณี ก็เป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นเช่นกัน เช่น ประเพณีสารทลาว ประเพณีบวช
ประเพณียกธงสงกรานต์ พิธีแต่งงานของชาวลาวครั่ง
จะต้องทำพิธีบูชาผีเทวดาผีเจ้านาย ซึ่งเป็นลักษณะของการปลูกฝังการเคารพบูชาบรรพบุรุษ ปู่ ย่า ตา ยาย
ที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่แตกต่างจากชุมชนทั่วไป และ มีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดควรค่าแก่การอนุรักษ์วัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีนี้ สืบไป
ความสามัคคีของคนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นงานบุญ หรือ งานศพเจ้าภาพจะบอกกล่าว
หรือไม่ก็ตาม ชาวบ้านที่ทราบข่าวก็จะมาช่วยงานกันเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้คนในหมู่บ้าน มีความรักความสามัคคีกันมากยิ่งขึ้น
ปัญหาทางด้านภาษาและประเพณี
เนื่องจากภาษาเป็นเอกลักษณ์ บ่งบอกถึงความเป็นวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น ซึ่งเป็นสิ่ง
สำคัญในการติดต่อสื่อสาร แต่เนื่องจากเด็กรุ่นใหม่จะไม่ค่อยพูดภาษาท้องถิ่น เพราะเป็นภาษาลาวไม่ใช่เป็นภาษาสากลที่ใช้คือ ภาษาไทย
เกิดความอายที่จะพูดภาษาลาว ที่เป็นภาษาประจำของตนเองจึงทำให้ภาษาที่มีอยู่ประจำท้องถิ่นค่อย ๆ แปรเปลี่ยนและหายไปบ้างเป็นบางคำ ( คำพูดแบบโบราณ )
การแต่งกายพื้นบ้าน ปัจจุบันส่วนใหญ่ คนในชุมชนชาวลาวครั่ง จะแต่งกายเฉพาะวัน
สำคัญต่าง ๆ เท่านั้น เช่นงานพิธีกรรมทางศาสนา งานบวช งานแต่งงาน ในวันธรรมดาตะแต่งกายแบบสากลทั่วไป
ความสูญเสียผ้าทอแบบโบราณ โดยพิธีกรรมความเชื่อ คือ พิธีศพ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญ
ที่ทำให้สูญเสียหลักฐานเกี่ยวกับผ้าโบราณไปมาก เนื่องจากพิธีนี้ ถ้าเป็นชายก็จะใช้ผ้าขาวม้าของผู้ตายคลุมทัพผ้าขาวบนฝาหีบ
ถ้าเป็นหญิงก็จะคลุมหีบด้วยสไบของผู้ตายและจะเผาเครื่องนุ่งห่มต่าง ๆ ของผู้ตาย เช่น ผ้าขาวม้าไหม โสร่งไหม ผ้าพุ่งไหม ผ้าม่วงโรง
หรือผ้าซิ่นมัดหมี่ ผ้าสไบ เสื้อ ฯลฯ เผาไปด้วย จึงเป็นสาเหตุแห่งความสูญเสียผ้าโบราณที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดี
ไปอย่างน่าเสียดาย เว้นไว้แต่ผ้าที่ผู้ตายยังไม่ได้ใช้และมีสภาพสมบูรณ์ก็จะนำไปถวายวัดเพื่อใช้ในโอกาสต่าง ๆ
ขนบธรรมเนียมประเพณีบางอย่างได้ลบเลือนและสูญหายไป เนื่องจากขาดผู้สืบทอด
จากคนรุ่นหลัง
ปัญหาการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม
1. การขาดแคลนผู้ถ่ายทอดภูมิปัญญาไทยเนื่องจากผู้มีความรู้ความสามารถด้านภูมิปัญญา ถึงขั้นว่าเป็นผู้ทรงภูมิปัญญามีอายุมากขึ้น
และเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก คนรุ่นหลังที่ได้รับการสืบทอดต่อมามีจำนวนน้อยลง จึงทำให้ขาดแคลนผู้ถ่ายทอดภูมิปัญญาไทย
2. ผู้คนส่วนใหญ่ละเลยละทิ้งไม่สนใจที่จะศึกษาภูมิปัญญาไทยเนื่องจากความเข้าใจผิดหลงใหล
ในค่านิยมภูมิปัญญาสากลมากขึ้น และรับภูมิปัญญาสากลเข้ามาอย่างขาดความระมัดระวัง โดยไม่เห็นคุณค่าภูมิปัญญาไทย มีผู้ยอมรับภูมิปัญญา
ไทยเพียงส่วนน้อยภายในวงจำกัด ภูมิปัญญาไทยจึงถูกดูหมิ่นดูแคลนว่าเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยมีคุณค่าต่อสังคมไทยเท่าที่ควร ไนที่สุดจึงพากันละเลย
และละทิ้งภูมิปัญญาไทยไปจนเกือบหมด
3. ขาดการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องจากไม่มีระบบการเก็บรวบรวมบันทึก ประมวลผล และ ยกเว้นพิธีใช้ระเบียบ
วิธีการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ ค้นหาและพัฒนาสร้างองค์ความรู้ใหม่บนพื้นฐานของภูมิปัญญาไทยอย่างจริงจัง ทำให้ภูมิปัญญาไทยไม่สามารถ
ปรับประยุกต์และนำมาใช้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม จึงทำให้ภูมิปัญญาไทยเกิดการสูญหายไปจำนวนมาก
4. ขาดการต่อเนื่องด้านภูมิปัญญา เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ต้องทำนาและทำอ้อยจำนวนมาเพื่อยังชีพตนเองไว้เนื่องจากสภาวะของ
สังคมปัจจุบันสินค้ามีราคาแพงขึ้น ทำให้ไม่มีเวลาในการที่จะสืบทอดภูมิปัญญาไทยนอกจากอาชีพในปัจจุบัน ( นายเทศ กาฬภักดี 2548 : สัมภาษณ์ )
จัดทำโดย
1. นายอร่าม กาฬภักดี ประธานชุมชนบ้านเหนือพัฒนา
2. สิบตรีประกาศิต แปลนพิมาย จนท.ธุรการ 2 เทศบาลตำบลบ่อกรุ
พ.ศ. 2548